วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


Learning log

Inclass : 4 กรกฎาคม 2556

            เวลา 8.00 น. เป็นเวลาเรียนในรายวิชา การพัฒนาหลักสูตร ในวันนี้อาจารย์วัยวุฒ         อินทวงศ์ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายในคาบเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร โดยมีหัวข้อด้านสังคมและวัฒนธรรม ปรัชญาการศึกษา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดแบบฟอร์มสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ด้านสังคมและวัฒนธรรม สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้

     1.1 โครงสร้างทางสังคมโครงสร้างสังคมไทยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
     -ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม
     -สังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม
     1.2 ค่านิยมในสังคม
     ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาค่านิยมต่างๆในสังคมไทย หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะศึกษาและเลือกค่านิยมที่ดีและสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมไทย  

     1.3 ธรรมชาติของคนในสังคม
     การพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกภาพของคนในสังคม โดยศึกษาพิจารณาว่าลักษณะใดควรจะคงไว้ลักษณะใดควรจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ พึงประสงค์ของสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อที่จะจัดการศึกษาในอันที่จะสร้างบุคลิกลักษณะของคนในสังคมตามที่สังคมต้องการ เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต

1.4 การชี้นำสังคมในอนาคต
            การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา และระบบพัฒนาหลักสูตรของไทยเป็นลักษณะของการตั้งรับมาโดยตลอด ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
            1.5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง
            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต จรรโลงสภาพสังคมในอนาคตให้ดีขึ้นลักษะประชากรที่มีคุณภาพดีมีดังนี้
- มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
- มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ทำประโยชน์แก่ครอบครัว
- เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
- มีสติปัญญา หมั่นเสริมสร้างความรู้ความคิดอยู่เสมอ
- มีนิสัยรักการทำงาน ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ภักดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ และมีมนุษยธรรม

            1.6 ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม     ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ในหลักสูตรควรเป็นหลักธรรมในศาสนาต่างๆและควรเปรียบเทียบหลักธรรมของศาสนาเหล่านั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าทุกศาสนามีเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน คือสอนให้คนเป็นคนดีเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม

ด้านปรัชญาการศึกษา
            1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมและวัตถุนิยม
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ
2) ครู เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากการศึกษาจะต้องมาจากครูเท่านั้น
3) ผู้เรียนหรือนักเรียนตามปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม จะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง
4) โรงเรียน มีบทบทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม
5) กระบวนการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ
            2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (
Perennialism)มีรากฐานมาจากปรัชญา จิตนิยมและปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ ทัศนะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา และทัศนะเรื่องศาสนา

องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร กำหนดโดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์ (Liberal arts)
2) ครู ปรัชญาการศึกษานี้มีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิตมีวิญญาณ
3) ผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคล
4) โรงเรียน ไม่มีบทบาทต่อสังคมโดยตรง เพราะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก
5) กระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีท่องจำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ และฝึกให้ใช้ความคิดหาเหตุผล
            3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism) ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนำมาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอการศึกษาจะไม่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กำหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ

องค์ประกอบของการศึกษา
1.หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคม
2
. ครูทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
3
. ผู้เรียน ปรัชญานี้เชื่อว่า ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม
4
.โรงเรียน ตามปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมโรงเรียนจะมีบทบาทต่อ
5. กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม
ด้านการเมือง การปกครอง

มโนทัศน์สำคัญ

ข้อมูลพื้นฐานเป็นข้อมูลในด้านต่างๆที่จำเป็น ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์และใช้ประกอบการพิจารณาในการสร้างหรือจัดทำหลักสูตรในทุกองค์ประกอบของหลักสูตร อันได้แก่ ข้อมูลทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆ
ตั้งแต่กระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กระบวนการกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนและกระบวนการประเมินผล เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆจากหลายๆแห่งและจากบุคคลหลายๆฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร

ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา ในฐานะที่การศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดีให้แก่สังคม หลักสูตรจึงควรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาเป็นพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรก็คือ ระบบการเมือง และระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ และรากฐานของประชาธิปไตย ฯลฯ เป็นต้น
นโยบายของรัฐ
เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ ในสังคม นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัด คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
รากฐานของประชาธิปไตย
จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475
หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะได้วางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง

การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development)
Economic Development และ Economic Growth แตกต่างกันอย่างไร?
Economic Development คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม
Economic Growth คือ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น

ดังนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจความหมาย
การทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ

กระบวนการที่ทำให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (Real Per Capita Income) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายรายได้เป็นธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การเพิ่มขึ้นของผลผลิต/รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริง

ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
-ทรัพยากรมนุษย์
-ทรัพยากรธรรมชาติ
-การสะสมทุน
-ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

 เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
-เพื่อทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น
-เพื่อลดอัตราการว่างงาน,เงินเฟ้อ/ฝืด
-ดุลการชำระเงินสมดุล
- การกระจายรายได้เป็นธรรม
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
 เป็นการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม โดยกำหนดออกมาในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : สศช. เริ่มจัดทำครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2504


แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)

· เป็นแผนที่อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนา
ยึดหลักทางสายกลางสามารถพึ่งตนเองได้และนำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน
คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

ด้านจิตวิทยา
แนวความคิดจิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โครงสร้างของจิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ,
2.เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่
ความมุ่งหมายและประโยชน์
1.จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก                                                             
3.ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง 4.ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง


ผลการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น ดิวอี้

1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ

2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา

3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงาน เช่น มีการวางแผนการทำงาน มีความรับผิดชอบ
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ

5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา                                                      

6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น