วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


พัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทย

ความเป็นมาของการศึกษาไทยช่วยให้เห็นพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นสำคัญ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ  การจัดการศึกษาจะต้องสนองต่อความต้องการของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ในที่นี้ได้เสนอพัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทยตั้งแต่พุทธศักราช 2503  2521 2533 2544 และ 2551 ดังนี้                                                              
 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นอย่างน้อย ในการจัดการศึกษานั้นเพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ  เนื้อหาสาระที่จัดในระดับประถมศึกษาตอนต้นมี6 หมวดใหญ่ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ศิลปศึกษา พลานามัย สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลายเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดทั้ง3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป วิทยาศาสตร์ และศิลปะ         

หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ  มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ  เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระมี5 กลุ่ม กลุ่มทักษะในหลักสูตร 2521 เปลี่ยนเป็นกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือ     การเรียนรู้ และเพิ่มกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ส่วนหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาต่อให้สามารถทำประโยชน์เพื่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระที่เรียนประกอบด้วยวิชาบังคับแกน(ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา) วิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม    จากการใช้หลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวไปสู่ส่งคมความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ได้ทันการณ์ ไม่สะท้อนความต้องการของท้องถิ่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนไปใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน               
พุทธศักราช 2544  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น สาระ  การเรียนรู้มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จากการใช้หลักสูตรพบว่ามีความสับสนใน  ผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา หลักสูตรแน่นเกินไป ปัญหาในการเทียบโอน และปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงเปลี่ยนมาใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มสมรรถสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ส่วนเนื้อหาสาระยังคงใช้ 8 กลุ่มสาระเหมือนหลักสูตร 2544 แต่หลักสูตรกำหนดตัวชี้วัดมาให้ ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นเพิ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมด้วย                                                 

สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
             1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
              2.
ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
               3.
ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
                4.
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
               5.
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy

หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21

-  สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21
-  มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
- 
ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง
- 
สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

 
แหล่งที่มาข้อมูล: http://www.learners.in.th/blogs/posts/410600(สืบค้นวันที่ 25/07/2556)

Learning log

In Class
25 กรกฎาคม พ.. 2556
           เวลา 8.00 น. เป็นเวลาของคาบเรียนในราชวิชา การพัฒนาหลักสูตรของอาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้ตรวจสอบความคืบหน้าในการทำพัฒนาหลักสูตรของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ที่แต่ละกลุ่มได้ลงไปสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลตามความสนใจโดยแยกเป็นด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการปกครอง และด้านวัฒนธรรมประเพณี แต่ละกลุ่มก็ต้องกลับไปแก้ไขข้อมูลและขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลใหม่ แล้วนำไปส่งอาจารย์ในวันศุกร์

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 Outclass : วันที่ 20 กรกฎาคม 2556

 จิตสารธารณะ (Public mind)

 หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแลและบำรุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้ง ขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การประหยัดน้ำประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือผู้ทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อให้เกิดปัญหาหรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนร่วม

 จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม
จิตสำนึกเพื่อสวนรวมนั้นสามารถกระทำได้ โดยมีแนวทางเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
     
    1. โดยการกระทำตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม
   
   2. มีบทบาทต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ

     การสร้างจิตสาธารณะ เป็นความรับผิดชอบในตนเอง แม้ว่าจะได้รับการอบรมสั่งสอนถ้าใจตนเองไม่ยอมรับ จิตสาธารณะก็ไม่เกิด ฉะนั้นคำว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" จึงมีความสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสาธารณะ
ถ้าตนเองไม่เห็นความสำคัญแล้วคงไม่มีใครบังคับได้
นอกจากใจของตนเองแล้ว แนวทางที่สำคัญในการจิตสาธารณะยังมีอีกหลายประการถ้าปฏิบัติได้ก็จะเป็น

ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ดังนี้
1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ
หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม

2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึงของสังคมต้องมีความรับผิดชอบ
ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้
      
3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เช่นกันอย่าง
หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข เช่น ช่วยกันดำเนินการให้โรงงานอุตสาหกรรมสร้างบ่อพักน้ำทิ้งก่อน
ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
      
4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ สอนให้คน
ทำความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจานี้ยังก่ิอให้เ้กิดประโยชน์ต่อสังคมด้วย
ทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


Learning log

Inclass:วันที่18กรกฎาคม 2556

เวลา8:00 น.วันนี้อาจารย์ได้มาเช้ามากและนักศึกษายังไม่ได้ทำความสะอาดห้องและให้นักศึกษาทำความสะอาดในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

หลักการ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้

-เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

 -เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่

-เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ

-เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด การเรียนรู้

-เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

-เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
-ความสามารถในการสื่อสาร

-ความสามารถในการคิด

-ความสามารถในการแก้ปัญหา

-ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  

- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

 - รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

 - ซื่อสัตย์สุจริต

 -  มีวินัย

 - ใฝ่เรียนรู้

 -อยู่อย่างพอเพียง
มุ่งมั่นในการทำงาน

 - รักความเป็นไทย

มีจิตสาธารณะ

 

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


Learning log

Inclass: วันที่ 11 กรกฎาคม พ.. 2556

เวลา 8.00 น.เป็นเวลาในของคาบเรียนวิชา การพัฒนาหลักสูตรของอาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์

อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเลือกและจัดสาระการเรียนรู้ในการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเลือกเนื้อหาสาระและเรียงลำดับเนื้อหา โดยมีรายละเอียดของตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง

การเลือกและจัดสาระการเรียนรู้
            คำถาม
1. เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายผู้เรียนควรได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?
2. จะจัดลำดับความรู้เหล่านั้นอย่างไรบ้าง จึงจะเกิดผลและการเรียนสูงสุด
            ตัวอย่างที่
1 เนื้อหาสาระของการมีสุขภาพปากและฟันที่ดี
1) ความสำคัญของฟัน
2) ประเภทของฟัน
3) ชนิดของฟัน
4) โครงสร้างของฟัน
5) หน้าที่ของฟัน
6) การดูและรักษาฟัน
7) การเลือกผลิตภัณฑ์มาดูแลรักษาฟัน
8) โรคเหงือกและฟัน
9) วิธีป้องกันโรคเหงือกและฟัน
ตัวอย่างที่ 2 เนื้อหาสาระเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการลบที่มีตัวตั้งไม่เกิน100
1) ความหมายของการลบ
2) สัญลักษณ์เครื่องหมายลบ
3) ตัวตั้ง ตัวลบ
4) การเขียนประโยคสัญลักษณ์
5) การลบที่มีการกระจายและการลบที่ไม่มีการกระจาย
6) การวิเคราะห์โจทย์การลบ
7) วิธีการตรวจคำตอบ
            ตัวอย่างที่ 3 เนื้อหาสาระเกี่ยวกับโรคติดต่อ
1) ชนิดของโรคติดต่อ
2) ลักษณะของโรคติดต่อ
3) สาเหตุของโรค
4) อาการของโรค
5) การติดต่อของโรค
6) โรคแทรกซ้อน
7) ความรุนแรงของโรค
8) การรักษาและการป้องกันโรค


 

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 Outclass: วันที่ 7 กรกฎาคม 2556

ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผู้เรียน ชุมชนและครูร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนจากชีวิต เรียนแล้วเกิดการเรียนรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตอย่างมีคุณภาพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข การเรียนการสอนจะสอนตามความต้องการของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น หลักสูตรท้องถิ่นจึงมีความสำคัญ ดังต่อไปนี้ 

1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้ของรู้เรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพปัญหาที่เป็นจริง

2. ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

3. ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เพื่อที่จะมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองในวันข้างหน้า รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง

4. ชุมชนและภูมิปัญญาในชุมชน มีโอกาสมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน
         
ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น

  ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น มีลักษณะดังต่อไปนี้ 
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความหลากหลายของปัญหามุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับเพศ วัย มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด และทักษะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะและสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นได้อย่างเหมาะสม

2. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ท้องถิ่นตนเอง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริงและการทำงาน รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนมีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

3. เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง และมุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่แยกส่วนของกระบวนการเรียนรู้ โดยผู้เรียนเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน อันจะนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้

4. เป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

5. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมในด้านศีลธรรม จริยธรรมและการธำรงไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย การรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนและของประเทศชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


Learning log

Inclass : 4 กรกฎาคม 2556

            เวลา 8.00 น. เป็นเวลาเรียนในรายวิชา การพัฒนาหลักสูตร ในวันนี้อาจารย์วัยวุฒ         อินทวงศ์ ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายในคาบเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร โดยมีหัวข้อด้านสังคมและวัฒนธรรม ปรัชญาการศึกษา การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดแบบฟอร์มสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ด้านสังคมและวัฒนธรรม สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้

     1.1 โครงสร้างทางสังคมโครงสร้างสังคมไทยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
     -ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม
     -สังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม
     1.2 ค่านิยมในสังคม
     ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาค่านิยมต่างๆในสังคมไทย หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะศึกษาและเลือกค่านิยมที่ดีและสอดแทรกไว้ในหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและสร้างค่านิยมที่ดีในสังคมไทย  

     1.3 ธรรมชาติของคนในสังคม
     การพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกภาพของคนในสังคม โดยศึกษาพิจารณาว่าลักษณะใดควรจะคงไว้ลักษณะใดควรจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ พึงประสงค์ของสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อที่จะจัดการศึกษาในอันที่จะสร้างบุคลิกลักษณะของคนในสังคมตามที่สังคมต้องการ เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต

1.4 การชี้นำสังคมในอนาคต
            การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา และระบบพัฒนาหลักสูตรของไทยเป็นลักษณะของการตั้งรับมาโดยตลอด ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
            1.5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง
            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต จรรโลงสภาพสังคมในอนาคตให้ดีขึ้นลักษะประชากรที่มีคุณภาพดีมีดังนี้
- มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี
- มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ทำประโยชน์แก่ครอบครัว
- เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
- มีสติปัญญา หมั่นเสริมสร้างความรู้ความคิดอยู่เสมอ
- มีนิสัยรักการทำงาน ขยัน อดทน ประหยัด ซื่อสัตย์ภักดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ และมีมนุษยธรรม

            1.6 ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม     ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ในหลักสูตรควรเป็นหลักธรรมในศาสนาต่างๆและควรเปรียบเทียบหลักธรรมของศาสนาเหล่านั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าทุกศาสนามีเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน คือสอนให้คนเป็นคนดีเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม

ด้านปรัชญาการศึกษา
            1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมและวัตถุนิยม
            องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร ยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ
2) ครู เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากการศึกษาจะต้องมาจากครูเท่านั้น
3) ผู้เรียนหรือนักเรียนตามปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม จะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง
4) โรงเรียน มีบทบทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม
5) กระบวนการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ
            2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (
Perennialism)มีรากฐานมาจากปรัชญา จิตนิยมและปรัชญาวัตถุนิยม ปรัชญาการศึกษาลัทธินี้แบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ ทัศนะในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา และทัศนะเรื่องศาสนา

องค์ประกอบของการศึกษา
1) หลักสูตร กำหนดโดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นหลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์ (Liberal arts)
2) ครู ปรัชญาการศึกษานี้มีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิตมีวิญญาณ
3) ผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคล
4) โรงเรียน ไม่มีบทบาทต่อสังคมโดยตรง เพราะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก
5) กระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีท่องจำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ และฝึกให้ใช้ความคิดหาเหตุผล
            3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progessivism) ปรัชญานี้เน้นกระบวนการ โดยเฉพาะกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เมื่อนำมาใช้กับการศึกษา แนวทางของการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและภาวะแวดล้อมอยู่เสมอการศึกษาจะไม่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่ หรือสิ่งที่กำหนดไว้ตายตัว ต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ

องค์ประกอบของการศึกษา
1.หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคม
2
. ครูทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
3
. ผู้เรียน ปรัชญานี้เชื่อว่า ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม
4
.โรงเรียน ตามปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมโรงเรียนจะมีบทบาทต่อ
5. กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม
ด้านการเมือง การปกครอง

มโนทัศน์สำคัญ

ข้อมูลพื้นฐานเป็นข้อมูลในด้านต่างๆที่จำเป็น ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์และใช้ประกอบการพิจารณาในการสร้างหรือจัดทำหลักสูตรในทุกองค์ประกอบของหลักสูตร อันได้แก่ ข้อมูลทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆ
ตั้งแต่กระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กระบวนการกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนและกระบวนการประเมินผล เพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆจากหลายๆแห่งและจากบุคคลหลายๆฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร

ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา ในฐานะที่การศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดีให้แก่สังคม หลักสูตรจึงควรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาเป็นพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรก็คือ ระบบการเมือง และระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ และรากฐานของประชาธิปไตย ฯลฯ เป็นต้น
นโยบายของรัฐ
เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ ในสังคม นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัด คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
รากฐานของประชาธิปไตย
จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475
หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะได้วางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง

การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development)
Economic Development และ Economic Growth แตกต่างกันอย่างไร?
Economic Development คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม
Economic Growth คือ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น

ดังนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจความหมาย
การทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา ระบบการปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ

กระบวนการที่ทำให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคล (Real Per Capita Income) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายรายได้เป็นธรรม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การเพิ่มขึ้นของผลผลิต/รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริง

ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
-ทรัพยากรมนุษย์
-ทรัพยากรธรรมชาติ
-การสะสมทุน
-ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

 เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ
-เพื่อทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น
-เพื่อลดอัตราการว่างงาน,เงินเฟ้อ/ฝืด
-ดุลการชำระเงินสมดุล
- การกระจายรายได้เป็นธรรม
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
 เป็นการกำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคม โดยกำหนดออกมาในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : สศช. เริ่มจัดทำครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2504


แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)

· เป็นแผนที่อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนา
ยึดหลักทางสายกลางสามารถพึ่งตนเองได้และนำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน
คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

ด้านจิตวิทยา
แนวความคิดจิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โครงสร้างของจิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ,
2.เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่
ความมุ่งหมายและประโยชน์
1.จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก                                                             
3.ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง 4.ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง


ผลการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น ดิวอี้

1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ

2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา

3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงาน เช่น มีการวางแผนการทำงาน มีความรับผิดชอบ
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ

5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา                                                      

6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป